ยินดีต้อนรับสู่ Blogger ของ นางสาวเปมิกา เปาะทองคำ วิชา การบริหารสถานศึกษาปฐมวัย Learning Experiences Management in Early Childhood Education ค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

วันจันทร์ ที่ 24 เมษายน 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย 
Learning Experiences Management in Early Childhood Education 
กลุ่มเรียน 102 
ดร. จินตนา สุขสำราญ 
เวลาเรียน 11.30-14.30 น.
วันจันทร์ที่ 24 เมษายน 2560


สะท้อนการเรียน


การสอนแผนเสริมประสบการณ์หน่วยดิน เรื่อง ประโยชน์ของดิน วันพฤหัสบดี 


หน่วยนม เรื่องประโยชน์ของนม (Cooking นมเย็น)


แผนนมเรื่องประโยชน์ของนม วันพุธ 


หน่วยไข่ เรื่องประโยขน์ของไข่ (Cooking ไข่พระอาทิตย์) วันพฤหัสบดี





หน่วยดิน เรื่องโทษของดิน วันศุกร์




หน่วยนม เรื่องโทษของนม วันศุกร์






หน่วยไข่ เรื่องการถนอมอาหาร วันศุกร์






skills (ทักษะที่ได้รับ)
    -ทักษะการวิเคราะห์
          -ทักษะการ ถาม-ตอบ
Adoption (การนำไปใช้)
   - นำความรู้ไปใช้ปฏิบัติในการสอนเด็กปฐมวัยต่อไป
Evaluation (การประเมิน)
  Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้อย่างมีความเข้าใจ
        Rating friends (ประเมินเพื่อน) ตั้งใจฟังเพื่อนๆคนอื่นสอนกันทุกคน
        Self-evaluation (ประเมินตนเอง) เข้าใจในการสอนประสบการณ์มากขึ้น

วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย 
Learning Experiences Management in Early Childhood Education 
กลุ่มเรียน 102 
ดร. จินตนา สุขสำราญ 
เวลาเรียน 11.30-14.30 น.
วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม 2560


สะท้อนการเรียน


อาจารย์ได้ให้นักศึกษาสอบสอน แผนการสอบประสบการณ์

สอนแผนเสริมประสบการณ์ หน่วยดิน เรื่อง ประเภทของดิน วันจันทร์


สอนแผนเสริมประสบการณ์ หน่วยนม เรื่อง ประเภทของนม วันจันทร์


สอนแผนเสริมประสบการณ์ หน่วยสัตว์ เรื่อง ประเภทของสัตว์ วันจันทร์

สอนแผนเสริมประสบการณ์ หน่วยนม เรื่อง ลักษณะของนมวันอังคาร



skills (ทักษะที่ได้รับ)
    -ทักษะการแสดงออก
          -ทักษะการ ถาม-ตอบ
Adoption (การนำไปใช้)
   - นำแผนการสอนและวิธีการสอนในวันนี้ไปใช้สอนเด็กปฐมวัยต่อไป
Evaluation (การประเมิน)
        Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) อาจารย์บอกถึงวิธีการสอนประสบการณ์อย่างเป็นลำดับขั้นตอนและเข้าใจได้ง่าย
        Rating friends (ประเมินเพื่อน) ตั้งใจเตรียมการสอนแผนกาารจัดประสบการณ์อย่างตั้งใจ
        Self-evaluation (ประเมินตนเอง) มีความเข้าใจมากขึ้น

วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Experiences Management in Early Childhood Education
กลุ่มเรียน 102
ดร. จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 11.30-14.30 น.
วันจันทร์ที่  13 มีนาคม 2560

สะท้อนการเรียน



     อาจารย์ได้เล่านิทาน  เรื่อง กับดักหนูให้นักศึกษาฟังและให้แสดงความคิดเห็น



   วันศุกร์วนมาอีกรอบหนึ่งแล้ว ตอนนี้ก็สองสัปดาห์ผ่านไปแล้วนะครับนับจากปีใหม่มา เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ปีนี้ก็น่าจะเป็นปีที่ดีๆ ของหลายๆ คนนะครับ ต้นปีแบบนี้ก็ขอให้มีแต่สิ่งดีๆ เกิดขึ้น และขอให้พลังจงอยู่กับท่านตลอดทั้งปีนะครับ วันนี้ผมก็เอานิทานสอนใจมาให้อ่านกันอีกเรื่องหนึ่งครับ ลองอ่านดูเลยละกันครับ

    วันหนึ่งหนูน้อยตัวหนึ่งมองผ่านทางรูฝาผนังบ้านเห็นภรรยาของชาวนากำลังตั้งกับดักหนู ด้วยความตื่นเต้นตกใจ เจ้าหนูน้อยกระโจนออกไปกลางลาน พร้อมตะโกนด้วยความตกอกตกใจกลัวภัยอันตรายที่จะเข้ามาใกล้ตัว

“กับดักหนูอยู่ในบ้าน!! กับดักหนูอยู่ในบ้าน!!”

แม่ไก่ได้ยินเข้า ก็มองหนูอย่างเยาะยันพร้อมพยักไหล่อย่างไม่แยแส พร้อมกับกล่าวว่า

“เจ้าหนูน้อย ข้าได้ยินแล้วว่าภัยใกล้ตัวเจ้า แต่นั่นมันเป็นเรื่องของเจ้า กับดักหนูไม่ใช่เรื่องที่ข้าจะสนใจอะไร มันไม่ธุระของข้า”

ว่าแล้วก็คุยเขี่ยหาอาหารอย่างทองไม่รู้ร้อนต่อไป

เจ้าหนูน้อยวิ่งหน้าตั้งไปยังหมูซึ่งกำลังใช้จมูกขุดคุยอาหาร

“หมู หมู นายรู้หรือเปล่าว่ามีกับดักหนูอยู่ในบ้าน” หมูได้ยินพยักหน้ารับ พร้อมบอกว่า

“เจ้าหนูน้อย ข้ารู้สึกสงสารแกจริง ๆ แต่ข้าไม่สามารถจะช่วยอะไรเจ้าได้หรอก นอกจากจะสวดมนต์ภาวนาให้เจ้าปลอดภัยเท่านั้น ข้าจะสวดมนต์ภาวนาให้เจ้าทุก ๆ ครั้งก่อนนอนก็แล้วกันนะ”

ด้วยความหมดอาลัยตายอยาก เจ้าหนูวิ่งโร่ไปหาวัวซึ่งกำลังเล็มหญ้าอยู่ข้างๆ บ้าน

“นาย นาย มีกับดักหนูอยู่ในบ้าน” เจ้าหนูน้อยตะโกนบอกวัวด้วยเสียงระทึกกลัว

วัวหันมายิ้มพร้อมกับพูดว่า “โม โม! เออ! จริงหรือ? น่ากลัวนะสำหรับเจ้า แต่ขอโทษทีเถอะสำหรับข้าไม่ได้สะเทือนตัวข้าเลยสักนิด กับกับดักหนูเล็ก ๆ แค่นั้น”

ด้วยความหมดหวัง เจ้าหนูน้อยเดินคอตกกลับไปเผชิญชะตากรรมในบ้านอย่างโดดเดี่ยว

หลังมืดสนิทในคืนนั้น เสียงกับดักหนูงับเสียงดังสนั่น ภรรยาชาวนาลงมาดูหวังได้หนู แต่ในความมืดภรรยาชาวนามองไม่เห็นว่ากับดักหนูงับติดหางงูเห่าตัวใหญ่อยู่ ในความมืดงูเห่ากัดภรรยาชาวนา จนต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล และกลับมารักษาที่บ้าน แต่ปรากฏว่าภรรยาชาวนามีไข้ขึ้นสูงตลอดเวลา

ชาวนาทุกคนรู้ว่ายาแก้ไขนั้นต้องให้คนไข้ทานซุปไก่ ดังนั้นชาวนาก็ฆ่าไก่มาต้มซุปให้ภรรยาทาน แต่อย่างไรเสียอาการป่วยของภรรยาไม่ดีขึ้นเลย มีเพื่อนฝูงเกือบทั้งหมู่บ้านมาเยี่ยมเฝ้าไข้กันเนื่องแน่น จนชาวนาต้องฆ่าหมูเพื่อทำอาหารเลี้ยงเพื่อน ๆที่มาเยี่ยมเยียน และปรนนิบัติภรรยาตัวเอง

เวลาผ่านไปภรรยาชาวนาก็ไม่ดีขึ้นในที่สุดก็ได้เสียชีวิตไป หลังจากนั้นก็มีงานศพใหญ่โตเพื่อนฝูงมาร่วมงานกันมากมาย ชาวนาก็ต้องเชือดวัวทำอาหารเลี้ยงแขกในงาน….

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ ไม่ได้เล็ดลอดจากสายตาของเจ้าหนูน้อยตัวนั้นแม้สักนิด เพราะเจ้าหนูน้อยได้เฝ้าสังเกตการณ์จากรูฝาผนังด้วยหัวใจที่แสนเศร้าสลดตลอดมาง

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า หากได้ยินภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับใครคนใดคนหนึ่งในสังคม จงคิดเอาใจใส่หาทางช่วยเหลือ อย่าคิดว่าธุระไม่ใช่ จงจำไว้ว่าวันหนึ่งภัยเล็กน้อยนั้นอาจจะลามใหญ่เป็นภัยถึงตัวเราก็ได้

ฉะนั้นเราต้องเป็นหูเป็นตาให้แก่กัน อย่านึกว่าธุระไม่ใช่ ไม่เช่นนั้น เราอาจจะมีปัญหาร้ายแรงเกิดขึ้น เพราะถือว่าไม่ใช่เรื่องของตน ดั่งเช่น ไก่,หมู และวัว ในนิทานนี้เรื่องนี้นั่นเอง




     อาจารย์ได้นำวีดีโอการสอนแบบโครงการ มาให้นักศึกษาดู



skills (ทักษะที่ได้รับ)
    -ทักษะการประยุกต์
          -ทักษะการวิเคราะห์
Adoption (การนำไปใช้)
   - นำคำสอนจากนิทานกับดักหนูไปใช้ในการดำเนินชีวิตและนำความรู้จากการสอนแบบโครงไปใช้ในการฝึกประสบการณ์และการเป็นครูต่อไป
Evaluation (การประเมิน)
  Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) อาจารย์สามารถอธิบายถึงนิทานและแนวการสอนได้อย่างเข้าใจ
        Rating friends (ประเมินเพื่อน) เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์
        Self-evaluation (ประเมินตนเอง) สามารถนำความรู้ในวันนี้ไปปฏิบัติได้จริง