ยินดีต้อนรับสู่ Blogger ของ นางสาวเปมิกา เปาะทองคำ วิชา การบริหารสถานศึกษาปฐมวัย Learning Experiences Management in Early Childhood Education ค่ะ

วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย 
Learning Experiences Management in Early Childhood Education 
กลุ่มเรียน 102 
ดร. จินตนา สุขสำราญ 
เวลาเรียน 11.30-14.30 น.
วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม 2560


สะท้อนการเรียน


-วันนี้อาจารย์ได้นำวีดีโอการสอนเด็ก โดยใช้ BBL 

เพลง ตบมือ ตบตัก ตบไหล่

เพลง จับหัว จับหู จับไหล่


- ส่งแผน เสริมประสบการณ์ในแต่ละหน่วย

แผนการจัดประสบการณ์ ชั้น อนุบาล 2/1 กิจกรรม เสริมประสบการณ์ วัน จันทร์
วัตถุประสงค์
   1.เด็กบอกชนิดของนมได้
   2.เด็กทราบถึงแหล่งที่มาของนมถั่วเหลือง
   3.เด็กเล่นร่วมกับผู้อื่นได้

สาระที่ควรเรียนรู้
   1. นมที่มาจากสัตว์ ได้แก่ นมวัว นมแพะ
   2. นมที่มาจากพืช ได้แก่ นมถั่วเหลือง

ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
    - การประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็กด้านอารมณ์-จิตใจ
    -การแสดงออกทางอารมณ์ความมั่นใจในตนเองและกล้าแสดงออก 
ด้านอารมณ์-จิตใจ
   -การแสดงออกทางอารมณ์ความมั่นใจในตนเองและกล้าแสดงออก
ด้านสังคม 
    -การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
ด้านสติปัญญา 
   - การรู้จักสิ่งต่าง ๆ ด้วยการมอง ฟัง การใช้ภาษา

กิจกรรมการเรียนรู้
1.ขั้นนำ
    1.1 ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง นมหลากหลาย
    1.3 ครูนำนมวัว นมแพะ นมเปรี้ยว นมถั่วเหลืองมาให้นักเรียนลองสังเกตดู
    1.4 ให้นักเรียนแบ่งเป็น 4 กลุ่ม แล้วแจกตัวอย่างนมแต่ละชนิด
2. ขั้นสอน
     2.1 ครูถามนักเรียนว่านมแต่ละชนิดมีอะไรแตกต่างกันบ้าง
     2.2 ครูอธิบายถึงความแตกต่างของนมแต่ละชนิด
     2.3 ครูนำภาพการรีดนมวัว นมแพะและขั้นตอนการทำนมถั่วเหลืองมาให้นักเรียนดู
     2.4 ครูสอบถามเกี่ยวกับประโยชน์ของนม
3. ขั้นสรุป
     3.1 ให้นักเรียนส่งตัวแทนกลุ่มออกมารายงานความแตกต่างของนมแต่ละชนิด และครูสรุปให้นักเรียนฟัง
     3.2 ให้นักเรียนส่งตัวแทนกลุ่มออกมาบอกประโยชน์ของนม และครูสรุปให้ฟังอีกครั้ง

สื่อ/แหล่งเรียนรู้
    1.นมชนิดต่างๆ
    2.ภาพสไลด์การรีดนมวัว
    3.เพลง “นมหลากหลาย”

การวัดและประเมินผล
สังเกตพฤติกรรมดังนี้
    1.วัดจากการสังเกตการสนทนาและตอบคำถามของนักเรียน
    2.วัดจากการให้นักเรียนออกมารายงานผลการสังเกตหน้าชั้น
    3.วัดจากการที่นักเรียนบอกถึงประโยชน์ของนม


skills (ทักษะที่ได้รับ)
    -ทักษะการวิเคราะห์
          -ทักษะการ ถาม-ตอบ
Adoption (การนำไปใช้)
   - ได้เรียนรู้เกี่ยวการสอนแบบ BBL และได้เรียนรู้วิธีการเขียนแผนที่ถูกต้อง
Evaluation (การประเมิน)
  Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) อาจาย์สอนได้เข้าใจและแต่งกายเรียบร้อย
        Rating friends (ประเมินเพื่อน) ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือทุกคน
        Self-evaluation (ประเมินตนเอง) เข้าใจในการสอนBBl มากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Experiences Management in Early Childhood Education
กลุ่มเรียน 102
ดร. จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 11.30-14.30 น.
วันเสาร์  4 มีนาคม 2560

สะท้อนการเรียน

การเรียนการสอนชดเชย

อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกมาสอนแผนการเคลื่อนไหวของแต่ละหน่วยซึ่งมีหน่วยการเรียนการสอนทั้งหมด 4 หน่วย
   1.นม
   2.ดิน
   3.ไข่
  4.กล้วย
โดยอาจารย์จะให้คำแนะนำเทคนิคในการสอนแผนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะให้กับนักศึกษาทุกคนเพื่อนำไปปรับใช้ให้แผนการสอนมีความสมบูรณ์ถูกต้องมากขึ้น


skills (ทักษะที่ได้รับ)
    -ทักษะความคิดสร้างสรรค์
          -ทักษะการ ถาม-ตอบ
Adoption (การนำไปใช้)
   - นำความรู้ที่เพื่อนได้สอนทำให้นำไปปรับใช้ต่อไป
Evaluation (การประเมิน)
  Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) อธิบายในสิ่งที่เพื่อนได้เข้าใจ
        Rating friends (ประเมินเพื่อน) ร่วมมือในกิจกรรมเป็นอย่างดี
        Self-evaluation (ประเมินตนเอง) เขาใจในวิธีการสอนเคลื่อนไหวมากขึ้น


วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Experiences Management in Early Childhood Education
กลุ่มเรียน 102
ดร. จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 11.30-14.30 น.
วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560

สะท้อนการเรียน

วันนี้ไม่มีการสอนเนื่องจากสัปดาห์ สอบกลางภาค





วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Experiences Management in Early Childhood Education 
กลุ่มเรียน 102 
ดร. จินตนา สุขสำราญ 
เวลาเรียน 11.30-14.30 น.
วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560

สะท้อนการเรียน

วันนี้เป็นการนำเสนอ แผนการเคลื่อนไหวในแต่ละกลุ่ม
ดิฉันได้ได้หน่วย  นม ซึ่งดิฉันเป็นคนสอน




แผนการจัดประสบการณ์ ชั้นอนุบาล  2/กิจกรรม   เคลื่อนไหวและจังหวะ  วัน  จันทร์
วัตถุประสงค์
1.เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างสนุกสนาน
2.ฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้
3.เด็กสามารถเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์ได้
4.เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายประกอบเพลงได้
5.เด็กระมัดระวังความปลอดภัยให้ตนเองและผู้อื่นในขณะเคลื่อนไหวร่างกายได้

สาระที่ควรเรียนรู้
กิจกรรมพื้นฐาน
-การเคลื่อนไหวอยู่กับที่  การหมุน การบิดตัว การโอนเอน
-การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่  เช่น  การเดินแบบต่างๆ
กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา
-การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
-การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์
กิจกรรมพักคลายกล้ามเนื้อ
-เด็กนั่งยืดขาและหายใจเข้าออกช้าๆ

ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
-การเคลื่อนไหวอยู่กับที่
-การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
ด้านอารมณ์-จิตใจ
-การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบต่างๆ
ด้านสังคม
-การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
-การแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านการเคลื่อนไหว

กิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรมพื้นฐาน
-เด็กหาปริมาณและพื้นที่เฉพาะตัว
-เด็กเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระ เช่น การหมุน การบิด การโอนเอนส่วนต่างๆ ของร่างกาย และการเดินแบบต่างๆ ตามจังหวะและสัญญาณ ช้า เร็ว หยุด
กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา
1.เด็กเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะและสัญญาณไปตามทิศทางต่างๆ เช่น ซ้าย ขวา หน้า หลัง  เมื่อได้ยินสัญญาณหยุด ให้จับมือกันเป็นวงกลม
2.ครูแจกอุปกรณ์ (หมวกนมหรรษา) ให้เด็กทุกคน
-เด็กสำรวจอุปกรณ์  โดยครูใช้คำถาม  เช่น  หมวกนมที่เด็กได้มีชื่อว่าอะไร  มีรสชาติแบบไหน
3.เด็กเคลื่อนไหวเพลงดื่มนม  โดยทำท่าประกอบพร้อมอุปกรณ์
4.ทำซ้ำข้อ 3  อีกรอบ
กิจกรรมพักคลายกล้ามเนื้อ
-เด็กนั่งยืดขาและหายใจเข้าออกช้าๆ
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
-เครื่องเคาะจังหวะ
-หมวกนมหรรษา

การวัดและประเมินผล
สังเกตพฤติกรรมดังนี้
1.การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
2.ฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ
3.การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์
4.การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
5.การระมัดระวังความปลอดภัยให้ตนเองและผู้อื่นในขณะเคลื่อนไหวร่างกาย

skills (ทักษะที่ได้รับ)
    -ทักษะความคิดสร้างสรรค์
          -ทักษะการ ถาม-ตอบ
Adoption (การนำไปใช้)
   - นำความรู้ที่ได้สอนจริงไปปรับปรุงและปรับใช้ต่อไป
Evaluation (การประเมิน)
  Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) อาจารย์บอกข้อเสียข้อด้อยได้อย่างชัดเจน
        Rating friends (ประเมินเพื่อน) ให้ความร่วมมือในกิจกรรมกันทุกคน
        Self-evaluation (ประเมินตนเอง) ทั้งใจในการสอนมาก




วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
      วิชา  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Experiences Management in Early Childhood Education
กลุ่มเรียน 102
ดร. จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 11.30-14.30 น.
วันจันทร์ที่  13 กุมภาพันธ์ 2560


สะท้อนการเรียน

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากวัน  มาฆบูชา



วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
      วิชา  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Experiences Management in Early Childhood Education
กลุ่มเรียน 102
ดร. จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 11.30-14.30 น.
วันจันทร์ที่  6  กุมภาพันธ์ 2560


สะท้อนการเรียน



วันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
      วิชา  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Experiences Management in Early Childhood Education
กลุ่มเรียน 102
ดร. จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 11.30-14.30 น.
วันจันทร์ที่  30  มกราคม 2560


สะท้อนการเรียน



- วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับการเก็บเด็กและแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเพลงต่างๆในแต่ละโรงเรียน

เพลง  น่ารักจริงๆ
เอามือวางไว้ที่ หัว ช่างน่ากลัว น่ากลัว จริงๆ
เอามือวางไว้ที่ไหล่  ช่างไฉไล ไฉไล จริงๆ
เอามือวางไว้ที่อก  ช่างตลก  ตลก  จริงๆ
เอามือวางไว้ที่ตัก  ช่างน่ารัก น่ารัก  จริงๆ

เพลง โปเล โปลา 
โปเล โปเล โปลา โปเล โปเล โปลา
เด็กน้อยยื่นสองแขนมา มือซ้ายขวา ทำลูกคลื่นทะเล
ปลาวาฬ พ่นน้ำเป็นฝอย ปลาเล็ก ปลาน้อย ว่ายตาม
ปลาวาฬ นับ 1 2 3 ใครว่ายตาม ปลาวาฬจับ


เพลงเเมงมุมลาย
แมงมุมลายตัวนั้น
ฉันเห็นมันสงสารเหลือทน
วันหนึ่งมันถูกฝน ไหลลงจากบนหลังคา
พระอาทิตย์ส่องแสง ฝนแห้งเหือดไปลับตา
มันรีบไต่ขึ้นฟ้า หันหลังมาทำตาลุกวาว


เพลงจับปูดำ
จับปูดำ ขยำปูนา จับปูม้า คว้าปูทะเล
สนุกจริงเอย แล้วเลยนอนเปล ชะโอละเห่ นอนเปลเลยหลับไป

เพลง  มดแดง
มดแดง กัดแข้งกัดขา
กัดเสื้อ กัดผ้า ตุ๊งแฉ่ง ตุ๊กแฉ่ง

เพลง ตามีไว้ดู หูมีไว้ฟัง
เรามีตาไว้ดู เรามีหูไว้ฟัง
คุณครูท่านสอนท่านสั่ง
ต้องตั้งใจฟัง ต้องตั้งใจดู


      เด็กอนุบาล เปรียบเสมือนผ้าขาวที่มีความขาวสะอาดพร้อมที่ครูจะแต่งแต้มให้เกิดสีสรรค์ ที่สวยงาม ตามแบบอย่างที่ดี หรือต้นแบบที่ดี ครูคือต้นแบบที่ดีที่สุด สำหรับเด็กวัยอนุบาล พร้อมที่จะแต่งแต้มสีสรรค์ให้กับเด็กเติบโต เป็นผู้ใหญ่ที่ดี ก่อนอื่นครูอนุบาลต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นครูอนุบาลต้องทำตัว เหมือนเป้นทุกอย่างของเด็กทำให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่นขณะที่เด็กอยู่โรงเรียน ครู เป็นทั้งพ่อ- แม่ เป็นทั้งเพื่อนเล่นเป็นทั้งคุณหมอเวลาเจ็บป่วย ครูต้องเป็นกันเองกับเด็กปฏิบัติต่อเด็กทุกคน ให้เหมือนกัน ไม่เลือกปฏิบัติ ครูจะต้องไม่ดุด่าว่าเด็กเสียงดัง ครูต้องชมเชย หรือให้รางวัลถ้าเด็กทำดีหรือถูกต้อง ครูต้องคอยเตือน และแนะนำเด็กในขณะที่เด็กทำผิดและทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

เทคนิควิธีการเก็บเด็ก
        ก่อนอื่น ครูต้องดูว่าในขณะนั้นเด็กกำลังสนใจในเรื่องอะไรอยู่ ถ้ามีเครื่องบินบินผ่านมาพอดี เด็กก็จะวิ่งออกมาดู เครื่องบินเป็นกลุ่มใหญ่ ครุก็ต้องปล่อยให้เด็กทำกิจกรรมที่เด็กกำลังสนใจในขณะนั้นก่อน ครูจะเรียกเด็กกลับบ้านมาเด็กไม่ยอมกลับแน่นอน ครูต้องใช้เวลาขณะนั้นให้เกิดโอกาส โดยครูต้องสนใจเครื่องบินกับเด็กก่อน โดยใช้วิธีให้เด็กนับเครื่องบินว่ามีกี่ลำ แล้วครูก็ถามเด็กว่าใครอยากร้องเพลงนับ ครูก็พาเด็กร้องเพลงนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ๆ ห้า หก เจ็ดๆ อีกทั้งแปดและเก้าสิบ เด็กจะเกิดความสุขสนุกสนานก่อนที่จะปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน


skills (ทักษะที่ได้รับ)
    -ทักษะการข้อตกลง
          -ทักษะการสร้างสรรค์
Adoption (การนำไปใช้)
   - นำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปใช้ในการสอนเด็กๆต่อไป
Evaluation (การประเมิน)
  Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) นำเทคนิควิธีการเกี่ยวกับเด็กที่หลากหลาย
        Rating friends (ประเมินเพื่อน) ให้ความร่วมมือในการเรียนอย่างดี
        Self-evaluation (ประเมินตนเอง) สามารถนำเทคนิคในวันนี้ไปใช้ประโยชน์ต่อไป


วันจันทร์ที่ 26 มกราคม 2560


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย 
Learning Experiences Management in Early Childhood Education 
กลุ่มเรียน 102 
ดร. จินตนา สุขสำราญ 
เวลาเรียน 11.30-14.30 น.
วันจันทร์ที่ 26 มกราคม 2560

สะท้อนการเรียน

            พัฒนาการคือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้ง 4 ด้านอย่าง เป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง 
โดยมีช่วงอายุเป็นตัวกำกับ
สมองทำงานเหมือนฟองน้ำ 

ทำงานโดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยการลงมือกระทำ
สมองทำงานตลอดเวลา เพราะร่างกายและประสาทสัมผัสยังทำงานอยู่ตลอดเวลา
การรู้พัฒนาการ เพื่อที่เราจะได้จัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับพัฒนาการ และยังใช้เป็นเกณฑ์วัดและประเมินผล
วิธีการเรียนรู้ของเด็ก  คือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยการลงมือกระทำ การเล่น ความสนใจเกิดจากพัฒนาการ


skills (ทักษะที่ได้รับ)
    -ทักษะการวิเคราะห์
          -ทักษะการ ถาม-ตอบ
Adoption (การนำไปใช้)
   - นำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ไปใช้ในสอนเด็กปฐมวัยต่อไป
Evaluation (การประเมิน)
  Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) สามารถอธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับพัฒนาได้อย่างเข้าใจ
        Rating friends (ประเมินเพื่อน) ช่วยกันตอบคำถามได้อย่างเข้าใจ
        Self-evaluation (ประเมินตนเอง) เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาเด็กปฐมวัยได้เข้าใจใน                                                                    รายวิชามากขึ้น

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2560


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย 

Learning Experiences Management in Early Childhood Education 
กลุ่มเรียน 102 
ดร. จินตนา สุขสำราญ 
เวลาเรียน 11.30-14.30 น.
วันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2560


สะท้อนการเรียน

   -  อาจารย์อธิบายแนวการสอน



skills (ทักษะที่ได้รับ)
    -ทักษะการข้อตกลง
          -ทักษะการ ถาม-ตอบ
Adoption (การนำไปใช้)
   - นำความรู้ไปใช้ปฏิบัติในคาบต่อๆไป
Evaluation (การประเมิน)
  Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) อาจารย์อธิบายรายวิชาและข้อตกลงได้อย่างเข้าใจ
        Rating friends (ประเมินเพื่อน) ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายทุกคน
        Self-evaluation (ประเมินตนเอง) เข้าใจในรายวิชามากขึ้น